ดร.วริศรียา ดันช่างสกุลช่างศรีเทพยืนคู่มรดกโลกเมืองศรีเทพ

1001 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ดร.วริศรียา ดันช่างสกุลช่างศรีเทพยืนคู่มรดกโลกเมืองศรีเทพ


เมื่อเร็วๆนี้ ดร.วริศรียา บุญสม ประธานโครงการโครงการสืบสานภูมิปัญญาเมืองแห่งศิลปะสกุลช่างศรีเทพ ได้ให้สัมภาษณ์ในงาน Business class ธุรกิจพลิกชีวิต จัดโดย กระทรวงพานิชย์ และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ออกอากาศทาง ช่อง One 31 ถึงแนวทางการในการทำธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคมชุมชนศรีเทพ มรดกโลกที่จะต่อยอดจากโครงการสืบสานภูมิปัญญาเมืองแห่งศิลปะสกุลช่างศรีเทพที่โดยโครงการอบรมเชิงปฏิบัติสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชนเมืองโบราณศรีเทพนี้จะสิ้นสุดในเดือน กันยายน นี้

โดยโครงการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคมชุมชนศรีเทพจะนำทุนทางวัฒนธรรมทวารวดี (Dvaravati Cultural Heritage)

มาสร้างนวัตกรรมเป็นผลิตภัณฑ์ศรีเทพมรดกโลก ภายใต้นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือSoft Powerเป็นแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยนำความคิด ภูมิปัญญาที่มีอยู่ต่อยอดศิลปะในการออกแบบต่อยอดมาผลิตภัณฑ์

เพิ่มมูลค่าการผลิตภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่น ที่มีเอกลักษณ์และคุณค่าของสินค้าที่โดดเด่น นำมาสร้างเรื่องราว พัฒนาสร้างสรรค์ และ GI สู่ช่องทางใหม่ทางการตลาด เพื่อได้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำ 3 หลักใหญ่คือ

1. เพื่อสืบสาน ส่งเสริม สนับสนุนงานสกุลช่างศรีเทพ ทั้ง 2 ด้าน ทั้งด้านอุปสงค์ และอุปทาน ทั้งด้านงานสกุลช่าง และผู้ใช้ ผู้ชม เพื่อให้งานสกุลช่างศรีเทพที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองโบราณศรีเทพตั้งอยู่ ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ คงอยู่สืบต่อไป

2 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบ ปรับปรุงเพื่อส่งเสริมให้เกิดมูลค่า ซอฟต์พาวเวอร์ จากอัตลักษณ์ของเมืองโบราณศรีเทพ และนําไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์สร้างรายได้ให้กับชุมชน ต่อไป

3 เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้เยาวชน ประชาชน รับรู้และภาคภูมิใจในงานศิลปะสกุลช่างศรีเทพ ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบูรณ์

โดยมีจุดมุ่งหมายของการก่อตั้งกิจการในรูปแบบธุรกิจ ที่เปลี่ยนจะมุมมองของคนในชุมชนและสังคม ให้หันมา doing well by doing good ร่วมกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมชุมชนอย่างยั่งยืน เพราะทุกฝ่ายล้วนมีบทบาทในการพัฒนาดูแลชุมชนไปด้วยกัน ผนวกเป้าหมายทางการเงิน คือทำให้มีกำไรแบ่งกำไรบางส่วนมาเพื่อใช้ประโยชน์เพื่อสังคมและสร้างความเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมของสังคม ( Social Ownership) เมื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรู้สึกมีความเป็นเจ้าของคนในชุมชนมีส่วนร่วมก็จะได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างแน่นอน โดยโครงการฯมุ่งสนับสนุนการจ้างงานคนในท้องถิ่นเป็นหลัก โดยแรงงานจะมีความหลากหลายโดยไม่จำกัด เพศ อายุ การศึกษา ผู้พิการ โดยมิได้มุ่งสร้างกำไรสูงสุดโดยจะนำกำไรสุทธิ30% นำไปใช้ในกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ แก่ชุมชน ผู้ยากจน คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ในพื้นที่ชุมชนเมืองโบราณศรีเทพ มรดกโลก
โดย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 ยูเนสโก ประกาศให้ เมืองโบราณศรีเทพ เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นแหล่งที่ 4 ของไทย และเป็นมรกดโลกแห่งที่ 7 ของประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า The Ancient Town of Si Thep and its Associated Dvaravati Monuments
.
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่คาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี มีร่องรอยโบราณสถานที่ยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันมากมาย โบราณสถานส่วนใหญ่มีรูปแบบศิลปะทั้งแบบทวารวดี และเขมรโบราณ หลายคนเรียกสถานที่นี้ในชื่อสั้น ๆ ว่า “เมืองโบราณศรีเทพ”เมืองโบราณศรีเทพมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ โดยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,889ไร่ และแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่เชื่อมกัน คือ เมืองส่วนใน (1,300 ไร่) และเมืองส่วนนอก (1,589 ไร่) มีสระน้ำและโบราณสถานกระจายอยู่ทั้งสองส่วน ซึ่งจากการขุดค้นพบว่า เฉพาะส่วนด้านในมีสระน้ำ หนองน้ำกระจายอยู่กว่า 70 บ่อและมีร่องรอยของโบราณสถานกว่า 48 แห่ง ซึ่งภายในอุทยานฯ จะมีรถรางนำเที่ยวชมรอบอุทยานฯ (นั่งได้ไม่เกินคันละ 20 คน) สามารถติดต่อล่วงหน้าเพื่อขอไกด์นำบรรยายได้ ภายในจะมี “ทางดำเนิน” ทางที่ใช้สัญจรในอดีตไปสู่เทวสถานและร่องรอยของอาคารที่คาดว่าน่าจะเป็น “ห้องเปลื้อง” ที่สันนิษฐานกันว่าเป็นที่ปลดผ้าของผู้วายชนม์ก่อนนำไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาสถานสำคัญภายใน
อาคารหลุมขุดค้นทางโบราณคดี
เป็นอาคารจัดแสดงโครงกระดูกมนุษย์และโครงกระดูกช้างที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ. 2531
.
ปรางค์สองพี่น้อง
ศาสนสถานในกลุ่มโบราณสถานกลางเมืองใน เป็นศิลปะแบบขอม ตั้งอยู่คู่กัน 2 หลัง มีลักษณะเหมือนกัน ต่างกันที่ขนาด ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก มีประตูทางเข้าทางเดียว ตรงกึ่งกลางห้องมีแท่นศิลาแลงสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ
ปรางค์ศรีเทพ
เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู สถาปัตยกรรมเป็นแบบศิลปะขอม ส่วนบนก่อด้วยอิฐ ฐานเป็นศิลาแลงฉาบปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ลานด้านหน้าองค์ปรางค์มีบรรณาลัย 2 หลัง เป็นที่เก็บคัมภีร์ทางศาสนา ปัจจุบันเหลือเพียงฐาน บริเวณด้านหน้าจะมีบ่อน้ำตามความเชื่อแบบขอมโบราณในการสร้างศาสนสถาน ซึ่งบ่อน้ำแห่งนี้เเป็นแหล่งตักน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกด้วย
เขาคลังใน
ตั้งอยู่ฝั่งเมืองส่วนใน แอดมองดูแล้วคล้าย ๆ กับพีระมิดที่ประเทศอียิปต์ ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สร้างด้วยศิลาแลงฉาบปูน บริเวณฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีลวดลายปูนปั้นรูปคนแคระที่มีหัวเป็นคน ลิง สิงห์ ช้าง และควายอยู่ในลักษณะท่าแบกหรือค้ำโบราณสถานอยู่ นอกจากนี้ ยังมีส่วนที่เป็นปูนปั้นลายพรรณพฤกษาและลายเรขาคณิตประดับอีกด้วย ด้านหน้ามีบันไดทางขึ้นสู่ด้านบน แต่ปัจจุบันไม่อนุญาตให้ขึ้นไป เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างที่งดงามจากอดีตที่ก้าวผ่านเวลามากว่าพันปีและเหลือให้เห็นได้ที่นี่ โบราณสถานลักษณะนี้ เชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติจึงเรียกว่า "เขาคลัง"
เขาคลังนอก
อยู่ห่างออกไปประมาณ 2 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในเมืองส่วนนอก ทางด้านทิศเหนือของเมืองโบราณศรีเทพ ชื่อเขาคลังนอกเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกัน เพราะที่นี่มีรูปร่างลักษณะคล้ายภูเขา โดยเชื่อกันว่ามีสมบัติและอาวุธเก็บรักษาอยู่ภายใน ประกอบกับในเขตเมืองโบราณศรีเทพ มี “เขาคลังใน” จึงได้เรียกโบราณสถานแห่งนี้ว่า “เขาคลังนอก” นั่นเองจุดเด่นของโบราณสถานแห่งนี้ อยู่ที่ฐานอาคาร ซึ่งสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นสถูปที่ตั้งอยู่บนฐานขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่ามีการใช้พื้นที่ด้านบนประกอบศาสนพิธี มีรูปแบบศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้